เมื่อเทคโนโลยีดิจิตอลเข้ามาอาชีพของหลายต่อหลายคนก็เปลี่ยนไป และหนึ่งในอาชีพที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากก็คือการขายของออนไลน์ เม็ดเงินไหลเวียนในระบบมหาศาล ทำให้ทางภาครัฐต้องเข้ามาควบคุมดูแล และทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า
ภาษีขายของออนไลน์เกิดขึ้น
รู้จักกับภาษีออนไลน์
การจ่ายภาษีคือหน้าที่ของประชาชนทุกคนทุกประเทศ ทว่าในปัจจุบันหลายคนยังเข้าใจว่าหากเราทำการขายของผ่านช่องทางออนไลน์เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องเสียภาษี ซึ่งคงต้องอธิบายชัดเจนตรงนี้เลยว่าอย่างไรก็ต้องเสียในรูปแบบของภาษีเงินได้
ภาษีของการขายของออนไลน์นับเป็นภาษีเงินได้จากการค้าขาย ซึ่งจะมีการแบ่งการคำนวณเป็นสองประเภท คือ
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา : กรณีเป็นพ่อค้าแม่ค้าธรรมดา
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล : กรณีที่ร้านค้านั้นๆ มีการจดทะเบียนเป็นบริษัท
โดยการคิดอัตราภาษีนั้นก็ไม่ได้แตกต่างกับการจ่ายภาษีตามปกติ คือคิดตามอัตราขั้นบันไดตามกฏหมายกำหนด และมีค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาหักภาษีได้ดังนี้
- หักค่าใช้จ่ายตามอัตรา 60% ของเงินได้ สำหรับร้านที่ดำเนินการแบบซื้อมา ขายไป ไม่มีการผลิตภายในร้าน
- หักตามค่าใช้จ่ายจริง สำหรับบ้านที่มีการผลิตภายในร้าน
- หักแบบเหมา กรณีที่มีรายได้จากช่องทางออนไลน์เกิน 1,000,000 บาท โดยคิดภาษีเป็น 0.5% ของเงินได้
ซึ่งคนทั่วไปก็สามารถคิดภาษีด้วยตัวเองได้ หรือใช้โปรแกรมในการคำนวณได้ ด้วยสูตร (รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) และแน่นอนว่าหากรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ก็มีโอกาสที่จะไม่ต้องเสียภาษีเช่นกัน
ข้อควรรู้ของภาษีออนไลน์
ทางสรรพากรจะรู้ได้อย่างไรว่ามีการขายของออนไลน์เกิดขึ้น ในปัจจุบันมีกฎหมายออกมารองรับทำให้ทางสถาบันการเงินต้องมีการส่งข้อมูลการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกกันว่า (e-Payment) ให้กับทางสรรพากรตรวจสอบ
แต่ไม่ได้ตรวจสอบทุกบัญชี ลองมาดูเงื่อนไขกันว่าสรรพากรจะตรวจสอบอย่างไร
- เมื่อมีการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชี 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป ไม่ว่ายอดรวมทั้งหมดจะกี่บาทก็ตาม
- ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกัน 400 ครั้งขึ้นไป และมียอดเงินรวมกันเกิน 2 ล้านบาท
ข้อมูลจาก :
พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๘)
ในส่วนนี้ขอขยายความว่า หากเป็นผู้ชื่นชอบในการซื้อของออนไลน์
การโอน ไม่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้ สิ่งสำคัญที่ทางสรรพากรสนใจคือ
การรับโอน ต่างหาก ดังนั้นบรรดาขาช็อปทั้งหลายสามารถสบายใจกับกฎหมายนี้ได้
ข้อมูลที่กรมสรรพากรจะได้
- เลขประจำตัวประชาชน
- ชื่อ สกุล
- เลขบัญชีเงินฝาก
- จำนวนครั้งของการฝากหรือโอน
- ยอดรวมจากการฝากหรือโอน
ซึ่งสรรพากรจะไม่เพียงตรวจสอบผู้ที่เป็นร้านค้าเท่านั้น แต่รวมไปถึงผู้ที่มีการโอนเงินมากผิดปกติจนน่าสงสัยอีกด้วย
แต่ไม่ต้องกังวลไป แม้ว่าคุณเพิ่งทำธุรกิจขายของออนไลน์หรือทำมานานแล้วก็สามารถเตรียมตัวได้ไม่ยาก
พ่อค้าแม่ค้าต้องทำอย่างไรบ้าง
สำหรับการเตรียมตัวจริงๆ ไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใด โดยปกติแล้วการค้าขายออนไลน์จะต้องมีการบันทึกข้อมูลลูกค้า การใช้จ่าย ลงทุน รวมถึงการรับเงินอยู่แล้ว สิ่งที่พ่อค้าแม่ค้าทุกคนต้องทำเพิ่มขึ้นมาก็คือ
- บันทึกทุกอย่าง ทำบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อสามารถตรวจสอบได้ว่าเรามีรายรับรายจ่ายประเภทใด อย่างไรบ้าง
- ไม่ทิ้งหลักฐานที่เกี่ยวกับการค้าให้หายไป เมื่อทางสรรพากรมีคำถามเกี่ยวกับรายรับรายจ่าย นอกจากจะได้เห็นบันทึกรายรับรายจ่าย ยังมีหลักฐานทางธุรกรรมเพื่อยืนยันว่าเราได้ดำเนินการโอนรับ จ่าย หรือลงทุนตามจริงด้วย
- ติดตามข่าวการเงิน โดยเฉพาะด้านภาษีที่มีการอัปเดตในแต่ละปี ตามการไหลเวียนของเงินในประเทศและต่างประเทศ หากไม่มีความรู้ด้านการเงินในระดับหนึ่งอาจทำให้พลาดเสียเงินมากเกินความจำเป็นหรือจ่ายภาษีซ้ำซ้อนได้
- หาความรู้เกี่ยวกับภาษีเงินได้ รวมถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม เพื่อที่จะสามารถจัดการรายรับรายจ่ายในแต่ละปี รู้ว่าต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ลดหย่อนอย่างไร
สะดวกกว่าด้วยการยื่นภาษีออนไลน์
นอกจากการตรวจสอบสิ่งต่างๆ ในโลกออนไลน์แล้ว ทางสรรพากรเองก็ยังดำเนินการอำนวยความสะดวกให้เหล่าผู้เสียภาษีเงินได้ด้วย
โดยสามารถเข้าไปยื่นแบบภาษีตามกำหนดการรายปีได้ที่
ยื่นแบบ-ชำระภาษีออนไลน์ ซึ่งภายในจะมีรายละเอียดต่างๆ ระบุไว้อย่างครบถ้วน พร้อมให้พี่น้องประชาชนยื่นแบบภาษีได้ในเวลาไม่กี่นาที ผ่านทางอุปกรณ์ของแต่ละคน
แน่นอนว่าปัจจุบันพ่อค้าแม่ค้าหลายคนก็ยังพยายามขายสินค้า รวมถึงขยายกิจการของตัวเองอย่างไม่หยุดยั้ง อาจจะมีคนที่รายได้มากพอจะเสียภาษีบ้าง ยังไม่ถึงบ้าง แต่อย่างไรทุกสิ่งก็ต้องก้าวไปข้างหน้า
ซึ่งหากคุณมีความต้องการเงินเพิ่มเติมเพื่อขยายกิจการ ลองปรึกษาทางเงินติดล้อดูครับ เพราะเงินติดล้อมีสินเชื่อหลากหลายรูปแบบ เพื่อรองรับพี่น้องพ่อค้าแม่ค้าทุกคน วงเงินสูง สามารถผ่อนสั้นผ่อนยาวได้ตามสะดวก สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
เว็บไซต์เงินติดล้อ หรือสอบถามพวกเราได้ที่เงินติดล้อทุกสาขาทั่วประเทศ พวกเรายินดีให้บริการครับ!
Tags :
เสียภาษี, การยื่นภาษีออนไลน์, ขายของออนไลน์, ภาษีขายของออนไลน์, ภาษีผู้ประกอบการ
738
739
244
149
740