คนมีรถต่างก็รู้กันดีว่านอกจากภาษีทะเบียนรถยนต์ที่ต้องจ่ายทุกปีแล้ว ยังมี
พ.ร.บ. รถยนต์ที่จำเป็นต้องต่ออายุทุกปีด้วยเช่นกัน ซึ่งดูเผินๆ แล้วเจ้า พ.ร.บ. นี้ก็คล้ายๆ กับประกันรถยนต์เลยนี่นา แบบนี้มันแตกต่างกันอย่างไรล่ะ?
วันนี้เงินติดล้อจึงจะมาอธิบายให้ฟังว่า พ.ร.บ. รถยนต์นั้นคืออะไร แตกต่างจากประกันรถยนต์อย่างไร และมีประโยชน์ต่อเรายังไงในการขับขี่รถยนต์
พ.ร.บ. รถยนต์ คืออะไร?
พ.ร.บ. รถยนต์ ย่อมาจาก “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์” เป็น
ประกันภาคบังคับ ที่กฎหมายกำหนดให้ยานพาหนะที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกทุกประเภทต้องมีไว้ เพื่อเป็นหลักประกันให้กับผู้ขับขี่ว่าจะได้รับสิทธิคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลยามเกิดอุบัติเหตุ
ซึ่งวงเงินคุ้มครองที่ผู้ขับขี่จะได้รับจาก พ.ร.บ. รถยนต์นั้น มีการกำหนดเอาไว้อย่างชัดเจนตามกฎหมายแล้ว โดยมีการจ่าย 2 รูปแบบ ดังนี้
- ค่าเสียหายเบื้องต้น ได้รับโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด
- ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท
- กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร 35,000 บาท
- ค่าเสียหายส่วนเกิน กรณีพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิด
- ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท
- กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท
- ค่าชดเชยรายวัน 200 บาทต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 20 วัน (กรณีต้องพักฟื้นในโรงพยาบาล)
- จำนวนเงินรวมทั้งหมดที่จ่ายได้ รวมกันสูงสุดไม่เกิน 304,000 บาท
หมายความว่า หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้วคุณเป็นฝ่ายผิด จะได้เงินคุ้มครองจากค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหรือ ข้อ 1 เท่านั้น
สำหรับใครที่ พ.ร.บ. รถยนต์ประจำปีใกล้จะหมดอายุแล้ว นำมาต่ออายุกับ
เงินติดล้อได้เลยครับ เรามีบริการต่ออายุ พ.ร.บ. สำหรับรถทุกประเภท มาแล้วรอรับได้ทันที ไม่บวกค่าธรรมเนียมเพิ่ม ไม่ต้องกลัวว่าจะแพงกว่าที่อื่น อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้
ที่นี่ สามารถรับบริการได้ที่
เงินติดล้อทุกสาขาใกล้บ้านคุณได้เลยครับ
ความแตกต่างระหว่าง พ.ร.บ. รถยนต์ กับประกันรถยนต์
จะเห็นได้ว่า พ.ร.บ. รถยนต์นั้นจะมีการให้ความคุ้มครองด้านอุบัติเหตุบนท้องถนนเช่นกัน หลายๆ คนอาจสังเกตุเห็น แบบนี้ก็เหมือนกับประกันภัยรถยนต์เลยสิ ...แต่จริงๆ แล้วทั้ง 2 แบบนี้มีความแตกต่างกันอยู่ โดยสามารถดูได้ ดังนี้ครับ
พ.ร.บ. รถยนต์นั้นจัดเป็นประกัน
ภาคบังคับตามกฎหมาย ซึ่งยานพาหนะทางบกทุกคันจำเป็นที่จะต้องมี โดยเมื่อเกิดอุบัติเหตุ จะให้ความคุ้มครอง
เฉพาะตัวผู้ขับขี่เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงรถยนต์ ซึ่งวงเงินคุ้มครองนั้นจะมีกำหนดไว้ตายตัวแล้วตามกฎหมาย
ส่วน
ประกันรถยนต์นั้นจัดเป็นประกัน
ภาคสมัครใจที่เลือกจะทำ หรือไม่ทำก็ได้ ซึ่งแตกต่างจาก พ.ร.บ. รถยนต์ตรงที่จะให้ความคุ้มครองทั้ง
ตัวรถ และ
ผู้ขับขี่ โดยจำนวนเงินคุ้มครองนั้นขึ้นอยู่กับแผนประกันที่เลือก และเงื่อนไขของบริษัทประกันแต่ละแห่ง
ทำประกันรถยนต์แล้วไม่ต้องมี พ.ร.บ. รถยนต์ ได้หรือไม่?
คำตอบก็คือ
ไม่ได้ครับ เนื่องจากเป็นกฏหมายที่ทางภาครัฐระบุเอาไว้ เพราะ พ.ร.บ. นี้นอกจากจะมีไว้เพื่อเป็นหลักประกันสำหรับผู้ขับขี่แล้ว ยังเป็นหลักประกันให้กับทางโรงพยาบาลว่าผู้ประสบภัยที่เข้ารับการรักษาจะสามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้
นอกจากนี้ถ้าคุณไม่ต่ออายุ พ.ร.บ. รถยนต์ จะไม่สามารถต่อภาษีทะเบียนรถยนต์ได้ แถมถ้าฝ่าฝืนจะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาทอีกด้วย ไม่คุ้มกันเลยครับ
สรุป
เท่านี้ทุกคนก็คงจะทราบกันแล้วว่า พ.ร.บ. รถยนต์นั้นแตกต่างจากประกันรถยนต์ตรงที่
ให้ความคุ้มครองเฉพาะผู้ขับขี่ แต่ไม่คุ้มครองตัวรถยนต์ หากมีแต่ พ.ร.บ. ติดรถยนต์ไว้เพียงอย่างเดียว เกิดอุบัติเหตุขึ้นมาค่าซ่อมรถทั้งหลายคุณต้องจ่ายเองทั้งหมดเลยนะครับ
ด้วยความปรารถนาดีจากเงินติดล้อ เราแนะนำให้คุณมีประกันภัยรถยนต์ควบคู่ไปกับ พ.ร.บ. เพื่อความอุ่นใจด้านทรัพย์สินของคุณ ทั้งค่าใช้จ่ายในกรณีบาดเจ็บ และกรณีที่รถเสียหาย รับรองว่ากระเป๋าสตางค์ไม่ฉีกแน่นอนครับ
หากคุณกำลังมองหาประกันรถยนต์สักตัว แต่ยังคิดไม่ออกว่าจะซื้อจากเจ้าไหน และแบบไหนถึงจะคุ้มค่าที่สุด
ให้เงินติดล้อแนะนำสิครับ เราเป็นโบรกเกอร์ที่มีแผนประกันภัยจาก
บริษัทชั้นนำให้คุณได้เลือกมากมาย พร้อมเปรียบเทียบประกันแต่ละแบบให้เห็นถึงความคุ้มค่า รับรองเลยว่าประกันที่ได้จะถูกใจคุณอย่างแน่นอน!
สนใจลงทะเบียนเพื่อรับการติดต่อกลับได้ที่
โบรกเกอร์ประกันภัยเงินติดล้อ หรือสอบถามที่เงินติดล้อทุกสาขาทั่วประเทศ หรือติดต่อที่เบอร์
088-088-0880 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เรายินดีให้บริการครับ
Tags :
ประกันภาคบังคับ, "พ.ร.บ. รถยนต์", พ.ร.บ.รถยนต์คืออะไร, "พรบ กับประกันภัยรถยนต์"
587
652
588
653